การสมัครตัวแทน/คนค้ำประกัน-หลักฐาน/คุณสมบัติ

การสมัครตัวแทน/คนค้ำประกัน-หลักฐาน/คุณสมบัติ


ข้อสำคัญ
  1. เมื่อสมัครตัวแทนแล้ว ต้องลงทะเบียนเป็นสมาชิก คปภ. ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถสมัครสอบใบอนุญาตได้ ลงทะเบียนที่นี่ https://onlinewebadt.oic.or.th/oiciiqe/RegisterGeneral/RegisterGeneral  
  2.  กรณีส่งชุดสมัครทาง Email แล้ว ยังไม่สามารถออกกรมธรรม์ได้ จนกว่าทางบริษัทจะได้ชุดสมัครตัวจริง (26/1/67 - อรุณฤทธิ์ มงคลธรรมกุล แผนกบริหารงานตัวแทน)

รายละเอียดอื่น ๆ
1.  เกี่ยวกับหลักฐาน

  2.  การค้ำประกัน และคุณสมบัติ

3.  การโอนย้ายตัวแทนจากบริษัทอื่น  

 

การกรอกชุดใบสมัคร

🔝

                การพิมพ์หรือเขียน

  • หากใช้การพิมพ์ให้ใช้การพิมพ์ทั้งชุดใบสมัคร
  • หากใช้การเขียนก็ให้ใช้การเขียนเพียงอย่างเดียวทั้งชุดใบสมัคร 
  • ห้ามใช้ทั้งการเขียนและพิมพ์ปนกันในชุดสมัคร        

            

            การกรอกชุดใบสมัคร ตัวแทน-นายหน้า ขอให้กรอกข้อมูลรายละเอียดที่ต้องกรอกให้เรียบร้อยครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น ...

1.   สัญญาทำที่...............(ให้ระบุสถานที่จัดทำสัญญาฯ)
2.   วันที่...............ทำสัญญา (ให้ระบุวันที่ทำสัญญา - ทุกสัญญา)
3.   ให้ระบุว่าผู้ค้ำประกัน ค้ำประกันให้กับตัวแทน/ผู้สมัครชื่อ-สกุลอะไร
4.   ให้พยานลงชื่อ 2 ท่านให้ครบถ้วน - ทุกสัญญา (เซ็นชื่อ และ เขียนตัวบรรจงไว้ใต้ลายเซ็นด้วย)
5.  รายละเอียดอื่นๆ ที่เป็นสาระสำคัญของชุดใบสมัครและสัญญาฯระบุให้ครบถ้วน/สมบูรณ์

            กรณี ตัวแทน/ผู้สมัคร กรอกข้อมูลรายเอียดชุดใบสมัครฯ และ/หรือสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ทุกสัญญา) ไม่ครบถ้วน ไม่สมบูรณ์  แผนกฯ  ไม่สามารถออกรหัสตัวแทนให้ได้  จึงขอให้ทุกท่านแนะนำให้ผู้สมัคร ให้กรอกชุดใบสมัคร และสัญญาที่เกี่ยวข้อง ให้เรียบร้อยครบถ้วนสมบูรณ์ด้วยทุกครั้ง

            หมายเหตุ  :  กรณีการแนบไฟล์เอกสารชุดใบสมัคร ตัวแทน-นายหน้า ให้กับแผนกฯ พิจารณาออกรหัส(โค้ด)ตัวแทน ขอให้จัดส่งในเมล์เดียวกัน (อย่าจัดส่งหลายเมล์)

ตัวอย่างใบสมัครตัวแทน คลิกที่นี่
ตัวอย่างใบสมัครนายหน้า (บุคคล) คลิกที่นี่ 
ตัวอย่างใบสมัครนายหน้า (นิติบุคคล) คลิกที่นี่

 

เอกสารประกอบชุดใบสมัคร

🔝

เอกสารประกอบการสมัครตัวแทน-นายหน้า (ห้ามมีรอยลบ)
(1)  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้าน (รับรองสำเนาถูกต้อง) ใช้อย่างละ  3  ชุด
      ระบุ – ใช้สมัครเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยเท่านั้น (กรณียังไม่มีใบอนุญาตฯ)      หรือ
      ระบุ - ใช้สมัครเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยเท่านั้น (กรณีมีใบอนุญาตนายหน้าฯ)
     (1.1)  ใช้กับ บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน)  จำนวน  1  ชุด
      (1.2)  ใช้กับ บริษัท ดอกเตอร์ พี อาร์ จำกัด (ใบเสนอรับงานบริหารการตลาด)  จำนวน  1  ชุด
      (1.3)  ใช้กับ บริษัทฯ ของแต่ละทีมงาน MT (ใบเสนอรับงานส่งเสริมการขาย)   จำนวน  1  ชุด
(2)  รูปถ่ายสุภาพ (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน - เป็นรูปมาตรฐานจากร้านถ่ายรูป รูปถ่ายจากมือถือใช้ไม่ได้) ขนาด 1 นิ้ว  2  รูป
(3)  สำเนาหน้าบัญชีธนาคาร (ผู้สมัครฯ)  1  ฉบับ  
(4) เฉพาะนายหน้า ให้แนบอากร 30 บาทด้วย


เอกสารประกอบของผู้ค้ำประกัน (ห้ามมีรอยลบ) (ผู้ค้ำฯรับรองสำเนาถูกต้อง) ใช้อย่างละ 1 ฉบับ
(1)  กรณีผู้ค้ำประกันเป็นข้าราชการ  (อายุไม่เกิน 60 ปี)
      (1.1)  สำเนาบัตรข้าราชการ
      (1.2)  สำเนาทะเบียนบ้าน
      (1.3)  หนังสือรับรองเงินเดือน / Pay Slip (ถ้ามี) ใช้ประกอบการขยายวงเงินเครดิตออกกรมธรรม์
(2)  กรณีผู้ค้ำประกันเป็นพนักงานบริษัทฯเอกชน  (อายุไม่เกิน 60 ปี)
      (2.1)  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
      (2.2)  สำเนาทะเบียนบ้าน
      (2.3)  หนังสือรับรองเงินเดือน หรือ สลิปเงินเดือนฉบับล่าสุด (ฉบับจริง)
(3)  กรณีผู้ค้ำประกันนอกเหนือจากข้อ (1) – (2) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากชุดใบสมัครฯ

หมายเหตุ สำเนาบัตรประชาชนของตัวแทนและ/หรือสำเนาบัตรประชาชนของผู้ค้ำประกัน ให้ปิดบังข้อมูลอ่อนไหว (ศาสนา , กรุ๊ปเลือด) ก่อนนำส่งให้แผนกฯ
 

          

ตัวอย่างใบสมัครไม่สามารถออกโค้ดได้

🔝

1. ส่วนของผู้สมัครตัวแทน

  • สำเนาบัตรประชาชน ถ่ายเอกสารติดข้อความอื่น
  • หน้าใบสมัครมีรอยลบตรงวันที่
  • สำเนาบัตรประชาชนสำเนาทะเบียนบ้านเซ็นต์ไม่เหมือนหน้าใบสมัคร
  • สำเนาบัตรประชาชนสำเนาทะเบียนบ้านมีรอยลบ
  • สำเนาทะเบียนบ้านมีรอยเซ็นต์ทับ 1 ชุด
  • สำเนาบัตรประชาชนใช้กระดาษรียูส
  • หน้าสัญญาและค้ำสัญญาตัวแทนถ่ายมาคู่กันในแผ่นเดียวกัน
  • หน้าสัญญา DR.PR , สัญญาเสนอรับงาน MT ถ่ายมาคู่กันในแผ่นเดียวกัน
  • หน้าใบสมัครมีรอยแก้ไขตรงลายเซ็น
  • สำเนาทะเบียนบ้านไม่เซ็นต์รับรอง 1 ชุด

2. ส่วนของผู้ค้ำประกัน

  • สัญญาค้ำประกันมีรอยลบ
  • สำเนาบัตรข้าราชการหมดอายุ
  • สัญญาค้ำระบุวันที่ตรงแถวช่องลายเซ็นผู้ค้ำมา (ผิดช่อง)
  • หนังสือรับรองเงินเดือนระบุค้ำประกันการทำงาน หรือค้ำประกันรถยนต์ (ให้ระบุว่าใช้สำหรับค้ำประกันตัวแทนประกันวินาศภัย )
  • หนังสือรับรองเงินเดือนขาดตราประทับของบริษัท
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ค้ำมีรอยลบและเซ็นต์ไม่เหมือนในสัญญาค้ำประกัน
  • หนังสือรับรองเงินเดือนมีการระบุมีอายุ 30 วัน และเลยกำหนด
  • หนังสือรับรองเงินเดือน ผู้ค้ำป็นคนเซ็นต์รับรองเองไม่ได้
  • หนังสือรับรองเงินเดือนเกิน 3 เดือน
  • ผู้ค้ำ เป็นสามีภรรยากับผู้สมัคร

3. อื่น ๆ

  • รหัสเดิมลาออกยังไม่ครบ 6 เดือน
  • ขาดสลิปเงินเดือนฉบับจริงของผู้ค้ำ
  • สมัครนายหน้า ไม่มีอากรแสตมป์ 30 บาท
  • ขาดบัญชีธนาคาร
  • ขาดหรือส่งมาไม่ครบชุดได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน / ทะเบียนบ้าน /รูปถ่ายไม่ชัดเจน

ใบสมัครนายหน้า แนบอากร 30 บาท

🔝

        ผู้สมัครนายหน้าประกันวินาศภัย ต้องแนบอากรแสตมป์ จำนวน  30 บาทพร้อมใบสมัคร ซึ่งอากรแสตมป์ 30 บาทนั้น ต้องใช้ติดหนังสือมอบอำนาจของบริษัทให้รับเบี้ยประกันภัย (นว.12) และส่งมอบให้กับนายหน้า เพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการรับค่าเบี้ยประกันภัย

แผนกบริหารงานตัวแทน 26/5/65


คุณสมบัติผู้ค้ำประกันและการทำสัญญา

🔝

            คุณสมบัติผู้ค้ำประกัน

1. บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย และ อายุไม่เกิน 60 ปี
2. มีภูมิลำเนาในประเทศไทย
3. ไม่เป็นสามี หรือ ภรรยา ที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้สมัครตัวแทน
4. ไม่เป็นตัวแทนประกันวินาศภัย / นายหน้าประกันวินาศภัย ของบริษัทฯ
5. ไม่ต้องโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต
6. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือ ไร้ความสามารถ
7. ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
8. ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
    8.1 ข้าราชการพลเรือน ตั้งแต่ ซี 3 ขึ้นไป
    8.2 ข้าราชการทหาร/ตำรวจ ยศ จ่าสิบเอกขึ้นไป หรือเทียบเท่า
    8.3 พนักงานรัฐวิสาหกิจ / พนักงานบริษัท ที่มีเงินเดือน 10,000 บาทขึ้นไป
    8.4 ผู้ประกอบวิชาชีพ แพทย์ , สถาปนิก , วิศวกร , ทนายความ , ผู้ตรวจสอบบัญชี
    8.5 เจ้าของกิจการที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายไทย
    8.6 นิติบุคคลที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายไทย 

            เอกสารผู้ค้ำประกัน

1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ค้ำประกันและคู่สมรส (ถ้ามี)  พร้อมรับรองสำเนา
2.สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้ค้ำประกัน และคู่สมรส(ถ้ามี) พร้อมรับรองสำเนา
3. เอกสารที่ต้องใช้ประกอบตามอาชีพของผู้ค้ำประกัน ดังต่อไปนี้

อาชีพผู้ค้ำประกัน

เอกสารที่ต้องใช้

3.1 ข้าราชการพลเรือน/ข้าราชการทหาร/ตำรวจ

  1. สำเนาบัตรข้าราชการ 
  2. หลักฐานแสดงตำแหน่ง พร้อมรับรองสำเนา

3.2 พนักงานรัฐวิสาหกิจ / พนักงานบริษัท

  • หลักฐานแสดงเงินเดือน ฉบับจริง

3.3 ผู้ประกอบวิชาชีพ, แพทย์, สถาปนิก, วิศวกร, ทนายความ, ผู้ตรวจสอบบัญชี

  • สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พร้อมรับรองสำเนา

3.4 เจ้าของกิจการที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายไทย

  1. สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ 
  2. สำเนาใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีปีล่าสุด พร้อมรับรองสำเนา

3.5 นิติบุคคลที่มีการจดทะเบียน ถูกต้องตามกฎหมายไทย

  1. สำเนาหนังสือรับรอง 
  2. สำเนาบัตรประชาชน 
  3. สำนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 
  4. สำเนาใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีปีล่าสุด


4. ต้องระบุสถานที่จัดส่งจดหมายเพื่อยืนยันการค้ำประกันที่ถูกต้อง
5. การค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะมีการตรวจสอบและยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษร

*สำเนาเอกสารทุกรายการต้องลงชื่อรับรองสำเนาด้วย*

            3/6/2020     กรณีตัวแทนจัดทำ “ สัญญาค้ำประกัน (วงเงินการออกกรมธรรม์) ทุกฉบับ ”  ตัวแทนต้องจัดทำสัญญาค้ำประกันและเอกสารประกอบของผู้ค้ำประกันให้ครบถ้วนถูกต้องตามหลักเกณฑ์การค้ำประกัน (รายละเอียดปรากฏอยู่ในใบสมัครตัวแทนฯ)  ตัวอย่าง เช่น

1.  กรณี ผู้ค้ำประกันเป็นข้าราชการ เอกสารประกอบ
   1.1 สำเนาบัตรข้าราชการ (รับรองสำเนาถูกต้อง) และ สำเนาบัตรประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี) (รับรองสำเนาถูกต้อง)
   1.2   หลักฐานแสดงตำแหน่ง
   1.3   สำเนาทะเบียนบ้าน (รับรองสำเนาถูกต้อง) และ สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส (ถ้ามี) (รับรองสำเนาถูกต้อง)

2.  กรณี ผู้ค้ำประกันเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ พนักงานบริษัทฯ เอกสารประกอบ
   2.1  สำเนาบัตรประชาชน (รับรองสำเนาถูกต้อง) และ สำเนาบัตรประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี) (รับรองสำเนาถูกต้อง)
   2.2  หลักฐานแสดงเงินเดือน
   2.3  สำเนาทะเบียนบ้าน (รับรองสำเนาถูกต้อง) และ สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส (ถ้ามี) (รับรองสำเนาถูกต้อง)

3.  การกรอกที่อยู่ผู้ค้ำประกัน
            ในการจัดทำ “ สัญญาค้ำประกันตัวแทน/นายหน้า ” ให้ระบุที่อยู่หรือสถานที่ที่ติดต่อสะดวกลงในสัญญาค้ำประกันตัวแทน/นายหน้า ไม่จำเป็นต้องเป็นที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านหรือทื่อยู่ตามบัตรประจำตัวประชาชน เช่น ใช้ที่อยู่ที่ทำงาน คอนโด บ้านเช่าหรือบ้านพักที่ ผู้ค้ำฯ พักอยู่ปัจจุบัน ฯลฯ (อาจจะพักอยู่คนละที่กับที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้าน)  โดยขณะที่แผนกฯ จัดส่ง  “ หนังสือยืนยันการค้ำประกัน ”  ไปให้ผู้ค้ำประกันยืนยันการค้ำประกันจะได้ถึงมือผู้ค้ำประกันทันที (หนังสือไม่ตีกลับ) จะได้ไม่มีปัญหารหัส(โค้ด)ถูกระงับ Suspend (S/S4) = ผู้ค้ำประกันยังไม่ได้ยืนยันการค้ำฯ จากการที่ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับหนังสือยืนยันการค้ำประกัน  สำหรับปัญหาที่แผนกฯพบบ่อยๆ คือ การกรอกข้อมูลรายละเอียดในสัญญาฯที่ไม่เรียบร้อย / ไม่สมบูรณ์ / ไม่ครบถ้วน ทำให้สัญญาค้ำประกันใช้ไม่ได้ต้องเสียเวลาทั้งผู้ค้ำประกันและ GA/ตัวแทน

4.  หลักฐานแสดง เงินเดือน/รายได้ ของผู้ค้ำประกันที่เป็น “ ข้าราชการ ” มีความจำเป็นต้องใช้   โดยตัวแทนท่านใดที่ใช้ข้าราชการค้ำประกันในการออกรหัส(โค้ด)ตัวแทนนั้น แผนกบริหารจัดการเบี้ยประกันภัย  จึงขอให้สำนักงานตัวแทน (GA) ทุกแห่งและตัวแทนทุกท่าน ขอให้แนบ  หนังสือรับรองเงินเดือน หรือ Pay Slip หรือ หนังสือรับรองรายได้ หรือ เอกสารการแสดงรายได้ของผู้ค้ำประกัน  เพิ่มเติมเพื่อใช้ประกอบในการพิจารณาขยายวงเงินเครดิตในการออกกรมธรรม์ให้กับตัวแทน 
        กรณีไม่มีหลักฐานการแสดงเงินเดือนหรือหลักฐานการแสดงรายได้ของผู้ค้ำประกัน แผนกบริหารจัดการเบี้ยประกันภัย จะไม่มีข้อมูลในการพิจารณาขยายวงเงินเครดิตการออกกรมธรรม์ให้กับตัวแทน

5.  การส่งคืน “ หนังสือยืนยันการค้ำประกัน ” การออกรหัส(โค้ด)ตัวแทน โดยหลังจากที่ผู้ค้ำประกันได้รับหนังสือและลงชื่อยืนยันการค้ำประกันให้กับตัวแทนแล้ว ขอให้ผู้ค้ำประกันส่งคืนต้นฉบับหนังสือยืนยันการค้ำประกันให้กับแผนกฯแบบ EMS จะถึงแผนกฯเร็วกว่าการส่งแบบลงทะเบียน (การส่งแบบลงทะเบียนใช้เวลาหลายวัน)  เพื่อตัวแทนจะได้ออกงาน/ออกกรมธรรม์แบบมีวงเงินเครดิตได้เร็วขึ้น 

6.  การจัดส่งหนังสือยืนยันการค้ำประกัน 
            แผนกฯ จะส่ง  “ หนังสือยืนยันการค้ำประกัน ”  ให้กับผู้ค้ำประกันโดยตรงตามที่อยู่ของผู้ค้ำประกันที่แจ้ง/ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกัน พร้อมทั้งจัดส่ง Mail Auto send (ระบบเมล์อัตโนมัติ) แจ้งเตือนมาที่สำนักงานตัวแทน (GA) ต้นสังกัดของตัวแทนเพื่อให้ GA ช่วยติดตามตัวแทนให้ประสานงานกับผู้ค้ำประกันให้รีบยืนยันการค้ำประกันและส่งต้นฉบับหนังสือยืนยันการค้ำประกันกลับให้บริษัทฯภายใน 60 วัน นับจากวันที่ออกหนังสือยืนยันการค้ำประกัน  สำหรับระบบเมล์อัตโนมัติ (Mail Auto send) ที่แจ้งเตือนมาที่สำนักงานตัวแทน (GA) ระบบฯจะดำเนินการจัดส่งอัตโนมัติ จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้
1.  ครั้งที่ 1  ระบบส่งเมล์อัตโนมัติแจ้งมาที่ GA (ทันที) หลังจากที่บริษัทฯออกหนังสือยืนยันการค้ำประกันจากระบบฯ
2.  ครั้งที่ 2  ระบบส่งเมล์อัตโนมัติแจ้งมาที่ GA นับจากวันที่ออกหนังสือยืนยันการค้ำประกันผ่านไปแล้ว 30 วันและผู้ค้ำประกันยังไม่ได้ยืนยันการค้ำประกัน
3.  ครั้งที่ 3  ระบบส่งเมล์อัตโนมัติแจ้งมาที่ GA นับจากวันที่ออกหนังสือยืนยันการค้ำประกันครบ 60 วันแล้วและผู้ค้ำประกันยังไม่ได้ยืนยันการค้ำประกัน
{วันที่ 61 ระบบจะระงับรหัสตัวแทนโดยอัตโนมัติเป็น Suspend (S4) ทันที}            

         กรณีสถานะรหัส(โค้ด) ตัวแทนถูกระงับ Suspend (S/S4) = ผู้ค้ำประกันยังไม่ได้ยืนยันการค้ำประกัน ตัวแทนยังคงสามารถออกงาน/ออกกรมธรรม์ได้โดยระบบ Prepaid (โอนเงิน Type 777777777) ก่อนออกกรมธรรม์

7.  ผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน สามารถค้ำประกันได้หรือไม่
            ผู้ใหญ่บ้าน หรือ กำนัน สามารถคำประกันได้หรือไม่ เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 66 บริษัทอนุโลมให้ค้ำประกันได้แล้ว  (ปกติไม่ได้เนื่องจาก  มีสถานะเป็นเพียง “เจ้าหน้าที่รัฐ” ไม่ใช่ “ข้าราชการประจำ” โดยคุณสมบัติของผู้ค้ำประกันกรณีเป็น ข้าราชการประจำ ตามที่กำหนดไว้ในชุดใบสมัครฯ ต้องเป็นข้าราชการ ซี 3 ขึ้นไป)
            โดยมีเงื่อนไขดังนี้
1. ผู้ใหญ่บ้าน & กำนัน ต้องมีเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท  (เงินเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ใช้ค้ำประกันไม่ได้)
2. ต้องมีหนังสือรับรองเงินเดือน ออกโดยนายอำเภอ  (ถ้าไม่มีหนังสือรับรองเงินเดือนใช้ค้ำประกันไม่ได้)

หมายเหตุ  :  กรณีที่ผู้ค้ำประกันกรอกรายละเอียดสัญญาค้ำประกันตัวแทน/นายหน้าไม่สมบูรณ์/ไม่ครบถ้วน แผนกฯ ไม่สามารถบันทึกเข้าระบบฯได้

การส่งเอกสารชุดใบสมัคร

🔝

            8/10/66 เมื่อได้ส่งชุดใบสมัครทาง Email แล้ว ตัวแทน/นายหน้า ยังไม่สามารถออกงานได้จนกว่าแผนกฯ จะได้รับชุดสมัครที่เป็นเอกสาร(กระดาษ) รายละเอียดดังนี้ 

  1. ไม่ได้รับต้นฉบับชุดใบสมัครฯ โค้ดถูกระงับ ออกกรมธรรม์ไม่ได้ทุกระบบ
  2. ได้รับต้นฉบับชุดใบสมัครฯ - ไม่มีผู้ค้ำประกัน โค้ดActive วงเงินเครดิต 0 บาท ออกกรมธรรม์ได้โดยระบบ Prepaid = โอนเงิน Type (7) ก่อนออกกรมธรรม์
  3. ได้รับต้นฉบับชุดใบสมัครฯ และได้รับต้นฉบับสัญญาค้ำประกัน สถานะรหัส(โค้ด) Active (A) ออกกรมธรรม์ได้แบบมีวงเงินเครดิตปกติ
            อนึ่ง ตัวแทนและ GA lk,ki5ตรวจสอบรายชื่อตัวแทนที่มีสถานะโค้ดถูกระงับ เนื่องจากแผนกฯ ยังไม่ได้รับต้นฉบับชุดใบสมัครฯ ได้จาก MT ต้นสังกัด หรือ ตรวจสอบได้จากเมล์ (Mail Auto Send) ที่บริษัทฯ จัดส่งให้กับ GA ทุกวันที่ 10 และ 25 ของทุกเดือน (หลังเวลา 16.00 น.) และให้รีบนำส่งต้นฉบับชุดใบสมัครฯให้กับบริษัทฯ (แผนกบริหารงานตัวแทน) โดยด่วน  

            16/9/64 เพื่อให้แผนกบริหารงานตัวแทน พิจารณาออกรหัสตัวแทนใหม่ได้นั้น ขอความร่วมมือให้ ทุกท่าน กรอกข้อมูลชุดใบสมัครให้ถูกต้องและรวบรวมเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนและดำเนินการดังนี้

         1.  ให้แนบไฟล์นำส่งชุดใบสมัครและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดทางเมล์ (E-mail) ให้กับ แผนกบริหารงานตัวแทน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของชุดใบสมัครและเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง
             1.1  กรณีชุดใบสมัครและเอกสารประกอบถูกต้องครบถ้วน - แผนกฯ จะพิจารณาออกรหัส(โค้ด)ให้ทันที  
             1.2  กรณีใบสมัครกรอกรายละเอียดไม่ถูกต้อง/ไม่ครบถ้วน และ/หรือ เอกสารประกอบไม่ถูกต้อง/ไม่ครบถ้วน – แผนกฯ จะไม่สามารถออกรหัส(โค้ด)ให้ได้

         2.  หลังจากแผนกฯ ออกรหัสตัวแทนแล้ว  ให้จัดส่งชุดใบสมัครต้นฉบับและเอกสารประกอบทันที กรณีแผนกฯ ยังไม่ได้รับเอกสารต้นฉบับ ตัวแทนจะออกกรมธรรม์ได้โดยระบบ Prepaid {โอนเงิน Type (7) ก่อนออกกรมธรรม์} เท่านั้น         

         ผลของการไม่ส่งใบสมัครต้นฉบับ กรณีออกโค้ดตัวแทนทางเมลแล้ว และไม่ได้นำส่งเอกสารใบสมัครถึงแผนกฯ  ภายใน 20 วัน , วันที่ 21  นับจากวันที่ออกโค้ด มีผลดังนี้  

  • รหัสตัวแทนถูกระงับ สถานะตัวแทน Suspend (S/NA) 
  • ไม่มีสิทธิแข่งขันคุณวุฒิตัวแทนมือใหม่  (โดยตัวแทนที่จะได้รับสิทธิ์แข่งขันคุณวุฒิตัวแทนมือใหม่ = ตัวแทนมีใบอนุญาตในระบบ + รหัส(โค้ด) Active ครั้งแรก)
  • ไม่สามารถออกกรมธรรม์แบบมีวงเงินเครดิตได้ ถึงแม้จะมีผู้ค้ำประกันแล้วก็ตาม

ผู้ค้ำประกัน ค้ำประกันได้ถึงอายุ 60 ปีเท่านั้น

🔝

            การจัดหาผู้ค้ำประกัน สำหรับการออกรหัส(โค้ด)   ตัวแทน และ การเปิดสำนักงานตัวแทน (GA)  โดยคุณสมบัติของผู้ค้ำประกันต้องมีอายุขณะค้ำประกันไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ถ้าหากผู้ค้ำประกันมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือ อายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ จะไม่สามารถใช้ค้ำประกันได้และต้องจัดหาผู้ค้ำประกันคนใหม่ทดแทน

            ดังนั้น การจัดหาผู้ค้ำประกันทั้งค้ำประกันการออกรหัส(โค้ด)ตัวแทน และ การค้ำประกันการเปิดสำนักงานตัวแทน (GA) ขอให้ตัวแทนหรือเจ้าของสำนักงานตัวแทน (GA) พยายามจัดหาผู้ค้ำประกันที่มีอายุน้อย ๆ หรือ ผู้ค้ำประกันที่ยังมีอายุที่มีระยะเวลาในการค้ำประกันพอสมควรก่อนอายุผู้ค้ำประกันจะครบ 60 ปีบริบูรณ์ เพราะถ้าหากผู้ค้ำประกันอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ ตัวแทนหรือเจ้าของสำนักงานตัวแทน (GA) ต้องจัดหาผู้ค้ำประกันคนใหม่ทดแทน (ผู้ค้ำประกันที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์จะไม่สามารถใช้เป็นผู้ค้ำประกันได้ตามหลักเกณฑ์/คุณสมบัติของการค้ำประกัน)


การระบุที่อยู่ผู้ค้ำประกัน

🔝

        สัญญาค้ำประกัน ให้ผู้ค้ำประกันระบุที่อยู่ที่ติดต่อได้จริง ณ ปัจจุบัน เช่น ที่ทำงาน  ที่พักปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องระบุที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้าน เนื่องจากผู้ค้ำประกันบางท่านไม่ได้พักตามที่อยู่สำเนาทะเบียนบ้าน (พักคนละที่กัน) เวลาแผนกฯ ส่งหนังสือยืนยันการค้ำประกันไปให้ผู้ค้ำประกันเพื่อยืนยันการค้ำฯจดหมาย(หนังสือ)จะได้ส่งถึงมือผู้ค้ำประกันทันที (ไม่ตีกลับ & ไม่เสียเวลา)


        โดยถ้าผู้ค้ำประกันไม่ได้ยืนยันการค้ำประกันภายใน 60 วัน รหัส(โค้ด)ตัวแทนจะถูกระงับ Suspend (S4) = ตัวแทนต้องออกกรมธรรม์แบบ Prepaid = โอนเงิน Type 777777777 ก่อนออกกรมธรรม์เท่านั้น


 


ผลของผู้ค้ำประกันไม่ยืนยัน

🔝

        ตัวแทนที่รหัส(โค้ด)ถูกระงับ  Suspend (S4=  ผู้ค้ำประกันยังไม่ได้ยืนยันการค้ำประกัน เกิน 60 วัน (ถูกระงับในวันที่ 61) นับจากวันที่ออกหนังสือยืนยันการค้ำประกันจากระบบฯ ส่งให้กับผู้ค้ำประกัน  แต่ตัวแทนยังคงสามารถออกงาน/ออกกรมธรรม์ได้โดยเงินสด (ระบบ Prepaid = โอนเงิน Type 777777777 ก่อนออกกรมธรรม์)

    กรณีที่  ผู้ค้ำประกันกรอกที่อยู่ในสัญญาค้ำประกัน  ขอให้ แนะนำ/แจ้ง ให้ผู้ค้ำประกัน ระบุเป็นที่อยู่ปัจจุบัน เช่น ที่ทำงาน , คอนโด , บ้านเช่า , บ้านพัก ที่เป็นที่อยู่ ณ ปัจจุบันที่จดหมายส่งถึงมือผู้ค้ำประกันได้ (ทันที) ไม่จำเป็นต้องเป็นที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้าน



การใช้เงินสดค้ำแทนบุคคลค้ำประกัน

🔝

19/2/64

            การค้ำประกันตัวแทนที่เปิดโค้ดใหม่นั้น สามารถขอใช้" เงินสด " คำประกันแทนการใช้บุคคลค้ำประกันในการขอออก
           รหัส(โค้ด)ตัวแทนใหม่ โดยสามารถดำเนินการ ดังนี้

  • ให้ตัวแทนโอนเงินสดเข้าบัญชีตั้งฝากของรหัสตัวแทนของตัวเอง เข้า Type 4 ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป
  • ให้ GA แจ้งไปที่แผนกบริหารงานตัวแทนพร้อมส่งสำเนาหลักฐานการโอนเงินดังกล่วระบุรหัสตัวแทนและแจ้งว่า ขอใช้เงินสดในบัญชีตั้งฝากในการค้ำประกันแทนบุคคลค้ำ
  • หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของแผนกบริหารงานตัวแทน ที่จะประสานให้การเงินรับเบี้ยประกันปรับปรุงรายการเป็นเงินตั้งฝากภายใต้รหัส (โค้ด) ตัวแทน Type (G) และเขาจะทำรายการ B/B ไว้ว่า "เงินสดค้ำประกันการออกรหัส (โค้ด)ตัวแทนนำไปใช้อย่างอื่นไม่ได้ "

            วงเงินเครดิตที่ได้จะได้ตามจำนวนเงินสดค้ำประกันที่มีเท่านั้น  เช่น  โอนมา 50,000 ก็จะได้วงเงิน 50,000 โอนมา 70,000 ก็จะได้วงเงิน 70,000 เป็นต้น


เปลี่ยนวงเงินค้ำประกันสัญญาค้ำประกัน

🔝

            28/5/2020   “ สัญญาค้ำประกันตัวแทน/นายหน้าประกันวินาศภัย ” จากเดิมวงเงินค้ำประกัน 200,000 บาท เป็น 500,000 บาท เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 18/05/63 เป็นต้นไป โดยดำเนินการดังนี้

1.  ใช้กับผู้สมัครที่ขอออกรหัส(โค้ด)ใหม่และใช้แบบฟอร์มสัญญาค้ำประกันวงเงิน 500,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 18/05/63 เป็นต้นไป

2.  สำนักงานตัวแทน (GA) และตัวแทนสามารถดาวน์โหลดสั่งพิมพ์ชุดใบสมัครตัวแทน/นายหน้า ที่มีสัญญาค้ำประกันวงเงิน  500,000  บาท  ได้จากเว็ป ดอกเตอร์ พีอาร์ ([http://www.drpr.co.th)]www.drpr.co.th) ตั้งแต่วันที่ 23/05/63 เป็นต้นไป

3. แบบฟอร์ม “ สัญญาค้ำประกันตัวแทน/นายหน้าประกันวินาศภัย ” และ  “ สัญญาค้ำประกันนายหน้าประกันวินาศภัย (นิติบุคคล) ” วงเงินค้ำประกันระหว่าง 200,000 – 1,000,000 บาท GA/ตัวแทน สามารถเลือกดาวน์โหลดได้จากเว็บ ดอกเตอร์ พี อาร์ (www.drpr.co.th)  

4.  ยกเลิก...การใช้แบบฟอร์มสัญญาค้ำประกันวงเงิน  200,000  บาท  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยในระหว่างนี้อนุโลมให้ใช้แบบฟอร์มสัญญาค้ำประกันแบบเดิมวงเงิน  200,000  บาท  ได้ต่อไปถึงวันที่ 30/06/63 เท่านั้น และตั้งแต่วันที่ 1/07/63 เป็นต้นไปให้ใช้แบบฟอร์มสัญญา  ค้ำประกันวงเงิน  500,000  บาท เพียงวงเงินเดียวเท่านั้น

5.  ตัวแทนที่ออกรหัส(โค้ด)ไปก่อนแล้วและใช้สัญญาค้ำประกันแบบเดิมวงเงิน 200,000 บาท สามารถใช้สัญญาค้ำประกันวงเงิน 200,000 บาท ได้ตามปกติ (ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงใดๆ)

สัญญาค้ำประกัน ตัวแทน/นายหน้า วงเงิน 200,000 บาท คลิกที่นี่
สัญญาค้ำประกัน ตัวแทน/นายหน้า วงเงิน 500,000 บาท คลิกที่นี่

ตัวแทน/ผู้ค้ำประกันเป็นได้เพียงสถานะเดียว

🔝

สำหรับบุคคลที่ขอออกรหัส(โค้ด)เป็นตัวแทนของบริษัทฯ หรือ บุคคลที่เป็นผู้ค้ำประกันในการออกรหัส(โค้ด)ของตัวแทนและ/หรือเป็นผู้ค้ำประกันการเปิดสำนักงานตัวแทน (GA) ดังนี้
1.  กรณีออกรหัส(โค้ด)เป็นตัวแทนของบริษัทฯ อยู่แล้ว และ สถานะรหัสยังไม่ได้ยกเลิก (C)จะไม่สามารถเป็นผู้ค้ำประกันได้ทั้งค้ำออกรหัสและค้ำเปิด (GA)
2.  กรณีขณะเป็นผู้ค้ำประกันการออกรหัส(โค้ด)ตัวแทน หรือ ค้ำประกันการเปิด (GA) จะไม่สามารถขอออกรหัส(โค้ด)เป็นตัวแทนของบริษัทฯได้
ยกเว้น – ค้ำประกันตัวแทนที่ถูกยกเลิกการเป็นตัวแทน หรือ ค้ำประกันสำนักงานตัวแทน (GA) ที่ถูกยกเลิกการเป็น (GA) ของบริษัทฯแล้วเท่านั้น  
3.  จากข้อ 1-2 ต้องเลือกเพียงสถานะเดียว จะเป็นตัวแทนของบริษัทฯ หรือ จะเป็นผู้ค้ำประกัน  (มี 2 สถานะในเวลาเดียวกันไม่ได้)


การโอนย้ายตัวแทนจากบริษัทอื่น

🔝



แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า