ผู้ค้ำประกัน/การทำสัญญา

คุณสมบัติผู้ค้ำประกัน

1. บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย และ อายุไม่เกิน 60 ปี

2. มีภูมิลำเนาในประเทศไทย

3. ไม่เป็นสามี หรือ ภรรยา ที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้สมัครตัวแทน

4. ไม่เป็นตัวแทนประกันวินาศภัย / นายหน้าประกันวินาศภัย ของบริษัทฯ

5. ไม่ต้องโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต

6. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือ ไร้ความสามารถ

7. ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย

8. ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

8.1 ข้าราชการพลเรือน ตั้งแต่ ซี 3 ขึ้นไป

8.2 ข้าราชการทหาร/ตำรวจ ยศ จ่าสิบเอกขึ้นไป หรือเทียบเท่า

8.3 พนักงานรัฐวิสาหกิจ / พนักงานบริษัท ที่มีเงินเดือน 10,000 บาทขึ้นไป

8.4 ผู้ประกอบวิชาชีพ แพทย์ , สถาปนิก , วิศวกร , ทนายความ , ผู้ตรวจสอบบัญชี

8.5 เจ้าของกิจการที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายไทย

8.6 นิติบุคคลที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายไทย

เอกสารผู้ค้ำประกัน

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ค้ำประกันและคู่สมรส (ถ้ามี) พร้อมรับรองสำเนา

2. สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้ค้ำประกัน และคู่สมรส(ถ้ามี) พร้อมรับรองสำเนา

3. เอกสารที่ต้องใช้ประกอบตามอาชีพของผู้ค้ำประกัน ดังต่อไปนี้

อาชีพผู้ค้ำประกันและเอกสารที่ต้องใช้

3.1 ข้าราชการพลเรือน/ข้าราชการทหาร/ตำรวจ

  • สำเนาบัตรข้าราชการ
  • หลักฐานแสดงตำแหน่ง พร้อมรับรองสำเนา

3.2 พนักงานรัฐวิสาหกิจ / พนักงานบริษัท

  • หลักฐานแสดงเงินเดือน ฉบับจริง

3.3 ผู้ประกอบวิชาชีพ, แพทย์, สถาปนิก, วิศวกร, ทนายความ, ผู้ตรวจสอบบัญชี

  • สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พร้อมรับรองสำเนา

3.4 เจ้าของกิจการที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายไทย

  • สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์
  • สำเนาใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีปีล่าสุด พร้อมรับรองสำเนา

3.5 นิติบุคคลที่มีการจดทะเบียน ถูกต้องตามกฎหมายไทย

  • สำเนาหนังสือรับรอง
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  • สำเนาใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีปีล่าสุด

4. ต้องระบุสถานที่จัดส่งจดหมายเพื่อยืนยันการค้ำประกันที่ถูกต้อง

5. การค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะมีการตรวจสอบและยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษร

*สำเนาเอกสารทุกรายการต้องลงชื่อรับรองสำเนาด้วย*


3/6/2020 

กรณีตัวแทนจัดทำ “ สัญญาค้ำประกัน (วงเงินการออกกรมธรรม์) ทุกฉบับ ” ตัวแทนต้องจัดทำสัญญาค้ำประกันและเอกสารประกอบของผู้ค้ำประกันให้ครบถ้วนถูกต้องตามหลักเกณฑ์การค้ำประกัน

(รายละเอียดปรากฏอยู่ในใบสมัครตัวแทนฯ)  เช่น

1. กรณี ผู้ค้ำประกันเป็นข้าราชการ เอกสารประกอบ

1.1 สำเนาบัตรข้าราชการ (รับรองสำเนาถูกต้อง) และ สำเนาบัตรประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี) (รับรองสำเนาถูกต้อง)

1.2 หลักฐานแสดงตำแหน่ง

1.3 สำเนาทะเบียนบ้าน (รับรองสำเนาถูกต้อง) และ สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส (ถ้ามี) (รับรองสำเนาถูกต้อง)

1.4 แม้ไม่ได้บังคับให้ผู้ค้ำประกันที่เป็นข้าราชการต้องใช้หลักฐาน หนังสือรับรองเงินเดือน หรือ Pay Slip หรือ หนังสือรับรองรายได้ หรือ เอกสารการแสดงรายได้ของผู้ค้ำประกัน แต่ถ้าต้องการขยายวงเงินเครดิต ต้องใช้หลักฐานแสดงเงินเดือนประกอบด้วย

2. กรณี ผู้ค้ำประกันเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ พนักงานบริษัทฯ เอกสารประกอบ

2.1 สำเนาบัตรประชาชน (รับรองสำเนาถูกต้อง) และ สำเนาบัตรประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี) (รับรองสำเนาถูกต้อง)

2.2 หลักฐานแสดงเงินเดือน

2.3 สำเนาทะเบียนบ้าน (รับรองสำเนาถูกต้อง) และ สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส (ถ้ามี) (รับรองสำเนาถูกต้อง)

3. การกรอกที่อยู่ผู้ค้ำประกัน

ในการจัดทำ “ สัญญาค้ำประกันตัวแทน/นายหน้า ” ให้ระบุที่อยู่หรือสถานที่ที่ติดต่อสะดวกลงในสัญญาค้ำประกันตัวแทน/นายหน้า ไม่จำเป็นต้องเป็นที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านหรือทื่อยู่ตามบัตรประจำตัวประชาชน เช่น ใช้ที่อยู่ที่ทำงาน คอนโด

บ้านเช่าหรือบ้านพักที่ ผู้ค้ำฯ พักอยู่ปัจจุบัน ฯลฯ (อาจจะพักอยู่คนละที่กับที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้าน) โดยขณะที่แผนกฯ จัดส่ง “ หนังสือยืนยันการค้ำประกัน ” ไปให้ผู้ค้ำประกันยืนยันการค้ำประกันจะได้ถึงมือผู้ค้ำประกันทันที

(หนังสือไม่ตีกลับ) จะได้ไม่มีปัญหารหัส(โค้ด)ถูกระงับ Suspend (S/S4) = ผู้ค้ำประกันยังไม่ได้ยืนยันการค้ำฯ จากการที่ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับหนังสือยืนยันการค้ำประกัน สำหรับปัญหาที่แผนกฯพบบ่อยๆ คือ การกรอกข้อมูลรายละเอียด

ในสัญญาฯ ที่ไม่เรียบร้อย / ไม่สมบูรณ์ / ไม่ครบถ้วน ทำให้สัญญาค้ำประกันใช้ไม่ได้ต้องเสียเวลาทั้งผู้ค้ำประกันและ GA/ตัวแทน

4. หลักฐานแสดง เงินเดือน/รายได้ ของผู้ค้ำประกันที่เป็น “ ข้าราชการ ” มีความจำเป็นต้องใช้ โดยตัวแทนท่านใดที่ใช้ข้าราชการค้ำประกันในการออกรหัส(โค้ด)ตัวแทนนั้น แผนกบริหารจัดการเบี้ยประกันภัย จึงขอให้สำนักงานตัวแทน (GA)

ทุกแห่งและตัวแทนทุกท่าน ขอให้แนบ หนังสือรับรองเงินเดือน หรือ Pay Slip หรือ หนังสือรับรองรายได้ หรือ เอกสารการแสดงรายได้ของผู้ค้ำประกัน เพิ่มเติมเพื่อใช้ประกอบในการพิจารณาขยายวงเงินเครดิตในการออกกรมธรรม์ให้กับตัวแทน

กรณีไม่มีหลักฐานการแสดงเงินเดือนหรือหลักฐานการแสดงรายได้ของผู้ค้ำประกัน แผนกบริหารจัดการเบี้ยประกันภัย จะไม่มีข้อมูลในการพิจารณาขยายวงเงินเครดิตการออกกรมธรรม์ให้กับตัวแทน

5. การส่งคืน “ หนังสือยืนยันการค้ำประกัน ” การออกรหัส(โค้ด)ตัวแทน โดยหลังจากที่ผู้ค้ำประกันได้รับหนังสือและลงชื่อยืนยันการค้ำประกันให้กับตัวแทนแล้ว ขอให้ผู้ค้ำประกันส่งคืนต้นฉบับหนังสือยืนยันการค้ำประกันให้กับแผนกฯ แบบ EMS

จะถึงแผนกฯเร็วกว่าการส่งแบบลงทะเบียน (การส่งแบบลงทะเบียนใช้เวลาหลายวัน) เพื่อตัวแทนจะได้ออกงาน/ออกกรมธรรม์แบบมีวงเงินเครดิตได้เร็วขึ้น

6. การจัดส่งหนังสือยืนยันการค้ำประกัน

แผนกฯ จะส่ง “ หนังสือยืนยันการค้ำประกัน ” ให้กับผู้ค้ำประกันโดยตรงตามที่อยู่ของผู้ค้ำประกันที่แจ้ง/ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกัน พร้อมทั้งจัดส่ง Mail Auto send (ระบบเมล์อัตโนมัติ) แจ้งเตือนมาที่สำนักงานตัวแทน (GA) ต้นสังกัดของตัวแทน

เพื่อให้ GA ช่วยติดตามตัวแทนให้ประสานงานกับผู้ค้ำประกันให้รีบยืนยันการค้ำประกันและส่งต้นฉบับหนังสือยืนยันการค้ำประกันกลับให้บริษัทฯภายใน 60 วัน นับจากวันที่ออกหนังสือยืนยันการค้ำประกัน สำหรับระบบเมล์อัตโนมัติ (Mail Auto send)

ที่แจ้งเตือนมาที่สำนักงานตัวแทน (GA) ระบบฯจะดำเนินการจัดส่งอัตโนมัติ จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้

1. ครั้งที่ 1 ระบบส่งเมล์อัตโนมัติแจ้งมาที่ GA (ทันที) หลังจากที่บริษัทฯออกหนังสือยืนยันการค้ำประกันจากระบบฯ

2. ครั้งที่ 2 ระบบส่งเมล์อัตโนมัติแจ้งมาที่ GA นับจากวันที่ออกหนังสือยืนยันการค้ำประกันผ่านไปแล้ว 30 วันและผู้ค้ำประกันยังไม่ได้ยืนยันการค้ำประกัน

3. ครั้งที่ 3 ระบบส่งเมล์อัตโนมัติแจ้งมาที่ GA นับจากวันที่ออกหนังสือยืนยันการค้ำประกันครบ 60 วันแล้วและผู้ค้ำประกันยังไม่ได้ยืนยันการค้ำประกัน

{วันที่ 61 ระบบจะระงับรหัสตัวแทนโดยอัตโนมัติเป็น Suspend (S4) ทันที}

กรณีสถานะรหัส(โค้ด) ตัวแทนถูกระงับ Suspend (S/S4) = ผู้ค้ำประกันยังไม่ได้ยืนยันการค้ำประกัน ตัวแทนยังคงสามารถออกงาน/ออกกรมธรรม์ได้โดยระบบ Prepaid (โอนเงิน Type 777777777) ก่อนออกกรมธรรม์

7. ผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน สามารถค้ำประกันได้หรือไม่

ผู้ใหญ่บ้าน หรือ กำนัน สามารถคำประกันได้หรือไม่ เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 66 บริษัทอนุโลมให้ค้ำประกันได้แล้ว (ปกติไม่ได้เนื่องจาก มีสถานะเป็นเพียง “เจ้าหน้าที่รัฐ” ไม่ใช่ “ข้าราชการประจำ” โดยคุณสมบัติของผู้ค้ำประกันกรณีเป็น ข้าราชการประจำ

ตามที่กำหนดไว้ในชุดใบสมัครฯ ต้องเป็นข้าราชการ ซี 3 ขึ้นไป)

โดยมีเงื่อนไขดังนี้

1. ผู้ใหญ่บ้าน & กำนัน ต้องมีเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท (เงินเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ใช้ค้ำประกันไม่ได้)

2. ต้องมีหนังสือรับรองเงินเดือน ออกโดยนายอำเภอ (ถ้าไม่มีหนังสือรับรองเงินเดือนใช้ค้ำประกันไม่ได้)

หมายเหตุ : กรณีที่ผู้ค้ำประกันกรอกรายละเอียดสัญญาค้ำประกันตัวแทน/นายหน้าไม่สมบูรณ์/ไม่ครบถ้วน แผนกฯ ไม่สามารถบันทึกเข้าระบบฯได้

ผลของผู้ค้ำประกันไม่ยืนยัน

ตัวแทนที่รหัส(โค้ด)ถูกระงับ Suspend (S4) = ผู้ค้ำประกันยังไม่ได้ยืนยันการค้ำประกัน เกิน 60 วัน (ถูกระงับในวันที่ 61) นับจากวันที่ออกหนังสือยืนยันการค้ำประกันจากระบบฯ ส่งให้กับผู้ค้ำประกัน

แต่ตัวแทนยังคงสามารถออกงาน/ออกกรมธรรม์ได้โดยเงินสด (ระบบ Prepaid = โอนเงิน Type 777777777 ก่อนออกกรมธรรม์)

กรณีที่ ผู้ค้ำประกันกรอกที่อยู่ในสัญญาค้ำประกัน ขอให้ แนะนำ/แจ้ง ให้ผู้ค้ำประกัน ระบุเป็นที่อยู่ปัจจุบัน เช่น ที่ทำงาน , คอนโด , บ้านเช่า , บ้านพัก ที่เป็นที่อยู่ ณ ปัจจุบันที่จดหมายส่งถึงมือผู้ค้ำประกันได้ (ทันที)

ไม่จำเป็นต้องเป็นที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้าน 

แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า